เขื่อนลำตะคอง

      ลำตะคองเป็นสาขาสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำมูล  มีต้นน้ำอยู่ระหว่างเขาฟ้าผ่า  อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  กับเขาฝาละมี  อำเภอเมืองนครนายก  จังหวัดนครนายก  ไหลผ่านที่ตั้งจังหวัดนครราชสีมาไปลงแม่น้ำมูลที่อำเภอจักราช  รวมความยามทั้งสาย  220 กิโลเมตร

      หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ป่าไม้บริเวณต้นน้ำของลำน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ถูกบุกเบิกเพิ่มขึ้น มาก  โดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำลำตะคอง  ซึ่งเป็นลุ่มน้ำที่ติดต่อกับภาคกลาง  และมีทางคมนาคมสะดวก  จึงเกิดสภาพการขาดแคลนน้ำ  และน้ำท่วมที่ราบสองฝั่งลำตะคอง ซึ่งประชาชนอยู่กันหนาแน่น  จนกระทั่งในฤดูแล้งไม่มีน้ำในลำตะคอง  ใช้สำหรับทำการประปาในจังหวัดนครราชสีมา  ต้องอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง  ซึ่งเป็นอ่างขนาดเล็กมาช่วย  แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ  จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อน  เก็บน้ำทางต้นน้ำของลำตะคองขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำดังกล่าว

ลักษณะโครงการ

  1. เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ  ปิดกั้นแม่น้ำลำตะคอง
  2. สูง  40.3 ม.  ยาว  521 ม.  มีช่องระบาย 1 ช่อง
  3. ระดับสันเขื่อน + 282.30  ร.ท.ก.
  4. ระดับเก็บกัก  +  277.00  ร.ท.ก.  ระดับน้ำสูงสุด  +  280.00  ร.ท.ก.
  5. ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก  310 ล้าน ลบ.ม.  ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด  445 ล้าน ลบ.ม.
  6. ความจุก้นอ่างฯ  ที่ระดับ + 261.00  ร.ท.ก.  20 ล้าน ลบ.ม.
  7. อาณาเขตรับน้ำ  1,430 ตร.กม.  พื้นที่อ่างฯ ที่ระดับเก็บกักสูงสุด  554 ตร.กม.
  8. ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง  212 ล้าน ลบ.ม./ปี  ปริมาณฝนเฉลี่ย  1,113 มม./ปี
  9. River  Outlet  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.50 ม.  ส่งน้ำได้  20 ลบ.ม./วินาที ระดับธรณีท่อ  +  261.00 ร.ท.ก.
  10. Service  Spillway  ขนาด  6.0 ม.  จำนวน  7 ช่อง  ระบายน้ำได้  1,530  ลบ.ม./วินาที
  11. ทางระบายน้ำฉุกเฉินกว้าง  40.0 ม.  ระบายน้ำได้  600 ลบ.ม./วินาที

ระยะเวลาก่อสร้าง     6  ปี      (ปี พ.ศ.2507 – 2512)

ค่าก่อสร้าง          ทั้งโครงการ   249 ล้านบาท 

ประโยชน์ที่ได้รับ  

  • เนื้อที่ชลประทานรวม  137,500 ไร่  ใช้คลองธรรมชาติเป็นคลองส่งน้ำ
  • บรรเทาอุทกภัยในทุ่งราบสองฝั่งลำตะคอง  ซึ่งเป็นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย  กับที่ราบบางส่วนของลุ่มน้ำมูลให้น้อยลง
  • ส่งน้ำเพื่อการประปาในเขตสุขาภิบาล  เทศบาล  และโรงงานอุตสาหกรรมของจังหวัดนครราชสีมา
  • เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา  ท่องเที่ยว  และพักผ่อนหย่อนใจ
       ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
 

 
 

สิ่งที่น่าสนใจ : บริเวณรอบขอบอ่างซึ่งเลาะเลียบไปกับ ถนนมิตรภาพเป็ผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาลสุดสายตามีภูเขาโอบล้อม เป็นทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะช่วงตะวันขึ้นและคล้อยต่ำ ลำแสงตะวันที่ตกสู่ผิวน้ำจะทำให้งดงามชวนมองมากขึ้น เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของการยืนโคราชอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเข้าไปถึงตัวเขื่อน  บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำริมเขื่อนถนนมิตรภาพมีจุดแวะชมวิวหลายแห่ง บางแห่งมีร้านอาหารหลายร้านให้นักท่องเที่ยวเลือกรับประทานพร้อมกับชมวิว อาหารที่โดดเด่นคือ อาหารพื้นบ้านประเภทส้มตำ ไก่ย่าง และอาหารประเภทปลาที่จับจากอ่างเก็บน้ำ เช่น ปลาช่อนตัวใหญ่ย่างเกลือ ปลากระทิงต้มยำหรือย่างก็อร่อยดี